Monday, December 10, 2007

รูปแบบของคลื่นเสียง

พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเสียงเสียง
นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโมเลกุลของอากาศ ถูกรบกวนด้วยระบบการเคลื่อนไหวบางอย่าง ซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ อาจเป็นสายกีตาร์ เส้นเสียงของคน มันถูกทำให้เคลื่อนไหว เพราะมีการใช้พลังงานทำให้มันเกิดการเคลื่อนไหว เช่น สายกีตาร์ถูกดีดโดยใช้ปิค หรือนิ้วดีด หรือเส้นเสียงสั่นเมื่อเราใช้ลมผ่านที่เส้นเสียงทำให้เกิดเสียง ซึ่งทั้งสองลักษณะจะเกิดเสียงได้ ก็ต่อเมื่อมีการสั่นสะเทือนด้วยอัตราที่เร็วและแรงพอ จนทำให้เกิดเสียงให้เราได้ยิน แต่ถ้ามันไม่เร็วและแรงพอเราก็จะไม่ได้ยินเสียงเลย แต่ถ้าเกิดการสั่นสะเทือนนั้นอย่างน้อย 20 ครั้งต่อวินาทีและโมเลกุลของอากาศมีการเคลื่อนไหวพอเราก็จะได้ยินเสียง
ตัวอย่างของเสียงกีตาร์
เพื่อความเข้าใจขบวนการนี้ให้ดีขึ้น เราจะมาดูให้ใกล้ชิดเข้าไปถึงการสั่นของสายกีตาร์ สายกีตาร์ทั้งสายจะเคลื่อนตัวกลับไป-มาในอัตราที่แน่นอน ซึ่งอัตรานี้เราเรียกว่าความถี่ของการสั่นสะเทือน [Frequency Of Vibration] เพราะว่าการเคลื่อนไหวกลับไป-มาเรียกว่ารอบ [Cycle] ซึ่งเราใช้วัดความถี่ ที่มีหน่วยวัดว่ารอบต่อวินาที [Cycles Per Second] หรือมีตัวย่อว่า cps. ซึ่งการวัดแบบนี้ที่เรารู้จักกันที่เรียกว่าเฮิรตซ์ [Hertz] มีตัวย่อว่า Hz บ่อยครั้งความถี่ของจุดกำเนิดเสียงสั่นเร็วมากเป็นพันรอบต่อวินาที เราเรียกว่า กิโลเฮิรตซ์ [Kilohertz] หรือ kHz



ระยะของการเคลื่อนตัวของสายกีตาร์เราเรียกว่า การเคลื่อนตัว [Displacement] ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการดีดสายอย่างไร? ถ้าการดีดทำให้มีการเคลื่อนตัวที่กว้างก็จะได้เสียงที่ดังกว่า การดีดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวแคบ ๆ และการเคลื่อนตัวของสายกีตาร์จะเปลี่ยนไปขณะที่สายกีตาร์สั่น ดังรูป



ในส่วนที่จุด A แทนตำแหน่งที่สายกีตาร์ เคลื่อนตัวกลับไปหลังจากใช้นิ้วดีดสาย จุด B แสดงการเคลื่อนตัวกลับมาที่จุดหยุดนิ่งของสาย จุด C แสดงตำแหน่งที่สายเคลื่อนตัวกลับมา และจุด D แสดงการเคลื่อนตัวของสายกลับมาที่จุดหยุดนิ่งของสายอีกครั้ง ซึ่งลักษณะการเกิดในรูปแบบนี้ จะเกิดซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง จนกว่าความแรงของโมเลกุลในอากาศค่อย ๆ ลดลง จนทำให้สายกีตาร์หยุดนิ่งในขณะที่สายกีตาร์สั่น มันเป็นสาเหตุทำให้โมเลกุลของอากาศรอบ ๆ สายเกิดการสั่นด้วย ซึ่งการสั่นสะเทือนนี้จะถูกผ่านไปในอากาศทำให้เกิดเป็นลักษณะคลื่นที่เราเรียกว่า คลื่นเสียง [sound Wave] เมื่อการสั่นสะเทือนเข้ามาที่หูของคุณ มันทำให้แก้วหูของคุณสั่นและคุณก็จะได้ยินเสียง ในลักษณะเดียวกัน ถ้าการสั่นของอากาศกระทบกับไมค์ มันเป็นเหตุให้ไมค์สั่นและส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นเสียงตามหลักทฤษฎีของเสียง คนเราจะได้ยินเสียงที่มีย่านความถี่ในช่วง 20Hz ถึง 20kHz แต่ในความเป็นจริงในช่วงความถี่สูงนั้นเราจะได้ยินประมาณที่ความถี่ 15 หรือ 17kHz ส่วนในสัตว์ต่าง ๆ และไมโครโฟนมีย่านความถี่ที่แตกต่างกันออกไปการเคลื่อนไหวกลับไป-มาของสายกีตาร์นั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบของการสร้างเสียง ดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทสายทั้งหมด ก็จะมีลักษณะการเกิดเสียงเหมือนกัน แน่ล่ะ! ในกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์การเกิดของเสียง มันไม่ง่ายแบบนี้ ซึ่งในความเป็นจริงการสั่นสะเทือนนั้นไม่ได้ที่ความถี่เท่ากันตลอดทั้งสายของกีตาร์ แต่จะเกิดที่ 1/2, 1/3, 1/4, 1/5 ....และต่อ ๆ ไป ซึ่งการสั่นสะเทือนนั้นจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเสียงที่เรารู้จักกันในลักษณะของโอเวอร์โทน [Overtones] ซึ่งความถี่ที่เกิดทีหลังจะมากกว่าความถี่ตอนเริ่มต้นสั่นสะเทือน [Fundamental Frequency] ซึ่งมันสั่นไม่แรงพอ จึงทำให้หูของเราไม่ได้ยินย่านความถี่ของความถี่ใดความถี่หนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าหูของเราได้ยินแต่ละความถี่ชัดเจนก็คงวุ่นวายน่าดู! เพราะแต่ละครั้งที่สายกีตาร์เส้นเดียวถูกดีดเราจะได้ยินเสียงตัวโน้ตหลายๆ ตัว คงจะสนุกไปอีกแบบ ก็ถือเป็นความโชคดีที่ธรรมชาติที่ทำให้ความถี่ทั้งหมดรวมกันออกมาให้เราได้ยินเป็นโน้ตตัวเดียว ดังรูป


คลื่นเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้ยิน ถ้าไม่มีส่วนประกอบที่เราเรียกว่าที่ดูดซับเสียง [Resonator] ตัวอย่างเช่น กีตาร์ก็จะมีตัวกีตาร์เป็นกล่องไม้กลวงๆ ไว้มาดูดซับเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือน ทำให้เรายินเป็นเสียงกีตาร์ออกมาเมื่อเราดีดสายกีตาร์
คลื่นเสียง [Waveform]คลื่นเสียงสามารถแสดงออกในหลายๆ ลักษณะที่แตกต่างกัน อาจเป็นในรูปแบบของคณิตศาสตร์, ลำดับของตัวเลขหรือเป็นลักษณะรูปกราฟฟิกของคลื่นเสียง [Waveform]
ซึ่งจะแสดงขนาดหรือแอม ปลิจูด [Amplitude] หรือความดังของการสั่นสะเทือนตามระยะเวลา ดังรูป




รูปแบบของคลื่นเสียงทีแสดงดังรูปนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน ทั้งลักษณะของคลื่นเสียงที่เราได้ยินแต่ละคลื่นเสียงจะมีเอกลักษณ์และรูปร่างของคลื่นเสียงของตัวมันเอง ที่เรียกว่าเอนเวลโลป [Envelope] และแต่ละคลื่นเสียงมีการเชื่อมต่อของความถี่ที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถเปลี่ยนความสั้น-ยาวของเสียงได้เส้นตรงกลางของคลื่นเสียงนั้น เป็นตำแหน่งของค่าเท่ากับ ศูนย์ [0] ซึ่งแสดงตำแหน่งของการหยุดนิ่ง ไม่มีการสั่นที่ทำให้เกิดเสียง [ค่าของ Displacement = 0] การเคลื่อนไปข้างหน้าหลังจากใช้นิ้วดีดสายกีตาร์ มีค่าเป็นบวก [Positive] ด้านบนของรูป ส่วนการเคลื่อนตัวกลับมามีค่าเป็นลบ [Negative] ด้านล่างของรูป [ดูรูปข้างล่างประกอบ]

รูปแบบของคลื่นเสียงข้ามเส้นกลาง [ค่า=0] 2 ครั้ง เป็นรอบการสั่นสะเทือนที่สมบูรณ์แต่ละครั้ง จุดของตำแหน่งของค่า=0 [Zero Crossing] มันสำคัญมากในขบวนการของระบบออดิโอ [Digital Audio] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีในการตัด-ต่อ คลื่นเสียงเข้าด้วยกัน ถ้าคลื่นเสียงถูกตัด-ต่อในตำแหน่งอื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงขาดหายหรือสะดุดได้ ค่าแอมปลิจูดก็เป็นส่วนสำคัญอีกตัวหนึ่งเพราะถ้าค่าแอมปลิจูดมาก ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความดังของเสียงนั้นๆ



Tuesday, December 4, 2007

เรื่องที่ผมสนใจ

คือผมได้เคยศึกษาและหาข้อมูล งานกลุ่มอยู่ คือ contemporary swiss graphic design และก็เคยสงสัยและตั้งคำถามในกลุ่ม ว่า ทำไม วัฒนธรรมกราฟฟิคของ สวิส ซึ่งดีอยู่แล้ว จึงมีคนที่พยามยามที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ให้แตกต่างไปอีก
และก็พอได้คำตอบมาว่า ในสมัยนั้นกราฟฟิคที่ดีอยู่แล้ว เริ่มมีการเข้ามาของกราฟฟิค ต่างๆ มากขึ้น อาจรับมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีความใหม่มากขึ้น อย่างเช่น งานพวกสื่อ หรือ โปสเตอร์ คนสวิสจึงเริ่มที่จะมาประยุกต์ และพยายามทำงานกราฟฟิคของตัวเองให้มีความ ทันสมัย และเข้ากับงานสมัยใหม่ มากขึ้น คือเริ่มที่จะทำงานแปลกใหม่ขึ้น

หลังจากผมได้ศึกษาเรื่องนี้แล้ว ผมจึงสนใจกับคำว่า ประยุกต์

ผมลองศึกษาหาคำว่า ประยุกต์ ซึ่งหมายถึง นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นําความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยาประยุกต์
แต่ผมลองตีความจากความหมายนี้คือ ประยุกต์นั้นก็เหมือนกับการ ทำสิ่งๆเก่า ให้เกิดการพัฒนาหรือทำ ให้เกิดสิ่งใหม่ อาจจะด้วยวิธี ดัดแปลง แก้ไขหรือหาสิ่งใหม่เขามาผสมผสานเข้ากับสิ่งเก่า

ผมจึงคิดว่าน่าจะนำ ประยุกต์ มาทำงานให้เกิดการพัฒนา จากสิ่งเก่าๆ ไปยังสิ่งใหม่ๆ หรือพัฒนาการใช้งาน หรือ กราฟฟิค มาทำให้มันดีขึ้น สะดวกขึ้น หรือว่าง่ายขึ้น






รูปที่ 1
การต่อเชื่อมเครื่องกำเนิดรูปคลื่นประกอบ โมเดล 2414B






การประยุกต์ใช้งาน สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายกรณีได้แก่
การควบคุมเสียง และป้องกันเสียงสะท้อน เครื่องกำเนิดรูปคลื่นประกอบ TEGAM-Pragmatic ใช้สำหรับทดสอบการบิดเบี้ยวของสัญญาณที่เกิดจากสัญญาณข้างเคียง (intermodulation distortion), ข้อบกพร่องของสัญญาณคลื่นเสียง (audiological deficiency), การจำลองสัญญาณคลื่น sonar, การวิเคราะห์ระดับสูง – ต่ำของพื้นผิวโลก, การประเมินเรื่องความผิดพลาด(bearing failure assessment), การทดสอบความเป็นเชิงเส้นของตัวขยายสัญญาณ, การคำนวณผลตอบสนอง multi-tone, การวัดตัวแปรอื่น ๆที่ต้องการความละเอียดของรูปคลื่นมาก ๆ
เภสัชกรรม/การแพทย์ ใช้ในสำหรับการทดสอบระดับ threshold และการคำนวณระดับการแสดงค่าหน้าจอแสดงผล เครื่องกำเนิดรูปคลื่นประกอบ สามารถนำมา ประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการวัดสภาพจิต, การจำลองการตอบสนองของร่างกาย, การทดสอบหน้าจอแสดงสภาพคนไข้, การจำลองการทำงานแบบ arrhythmia, การรับรองระดับ EKG ที่ใช้ในการผลิต, การสอบเทียบต่าง ๆ
การทดสอบเครื่องรถยนต์ นำเครื่องกำเนิดรูปคลื่นไว้ใช้กับระบบป้องกัน airbag, การเข้ารหัสทางอิเลกโทรนิกส์เพื่อความปลอดภัย การให้สัญญาณการจุดระเบิด เครื่องยนต์ การเร่งเรื่องของ suspension การจำลองการทำงานระบบเบรค ABS ที่ต้องการความละเอียดรูปคลื่นสูง และมี delays ที่ยาวนานของการจัดลำดับรูปคลื่น การทดสอบอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ และใช้ประโยชน์ในการรับรองประสิทธิภาพของเครื่องยนต์
กำลังงาน ใช้ประโยชน์กับการทดสอบมิเตอร์วัดค่า และการจำลองสภาวะรบกวน ที่มีความสำคัญในการใช้งานแบบ single- และ multi- phase waveform generators ทั้งยังมีความสำคัญ ในการให้กำเนิดฮาร์มอนิก, การควบคุมมุมเฟสที่ได้ค่าเที่ยงตรง, การจัดลำดับรูปแบบสัญญาณรบกวน, ใช้ประโยชน์ในการสอบเทียบมิเตอร์ และ การทดสอบการทำงานที่ไม่เกิดการติดขัดของแหล่งจ่ายไฟ
การสื่อสาร ประยุกต์ใช้งานในการทดสอบโมเดม, modulation แบบ I และ Q, การจำลองข้อมูลทางวิทยุ, การวัดค่า modulator phase sensitivity, รูปแบบรหัส pseudo-random การบิดเบี้ยวของสัญญาณเนื่องจากสัญญาณข้างเคียง รูปแบบ Modulation อื่น ๆรวมถึง CDMA, W-CDMA, QPSK, MSK, FSK, AM, FM และอื่น ๆ อีกมากมาย
การใช้งานทางด้าน อุปกรณ์ Semiconductor และ อุปกรณ์ทางด้านโลหะอุตสาหกรรม ใช้งานแบบประยุกต์ในด้านความหลากหลายของรูปคลื่นที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับย่านการทดสอบจอ LCD, การใช้งานเรื่อง SEM lithography, การทำความสะอาดแผ่นเวเฟอร์ด้วย ultrasonic, การคำนวณเกี่ยวกับอุปกรณ์ semiconductor, คุณลักษณะแบบ FeRAM การวัดความต้านทานแผ่นเวเฟอร์ การควบคุม ลำแสงเลเซอร์ และการแสดงผลการไหลของเหลวโดยใช้รูปคลื่นในหลายย่านความถี่,


แต่งานที่ผมสนใจและคิดว่าที่จะมาทํางานคือเรื่องของการ คุมเสียง หรือ เรื่องของคลื่นเสียง โดยคลื่นเสียงมีด้วยกันหลายชนิด มีการทําให้เกิดเสียงได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การดีด หรือ การเคาะก็จะทําให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน โดยคลื่นเสียงเมื่อมีเสียงออกมา กราฟ ของเสียงก็จะเปลี่ยนไปในรูปแบบต่างๆ


Monday, November 19, 2007

comtemporary #3

อดีต
หากพูดถึงความเป็นคลาสสิคในยุค 50 ก็คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการกล่าวถึง สไตล์การออกแบบที่เรียกว่าSwiss Style ไปได้ ลักษณะที่เรียกว่า Swiss Style นั้นเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2บนรากฐานอิทธิพลของ Bauhaus - Constructivism และ De Stijl ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้ grid ในการสร้างสรรค์งานยังคงได้รับการขานรับอย่างต่อเนื่อง และถูกผสมผสานเข้ากับการใช้เทคนิคใหม่ๆในการตกแต่งแก้ไขภาพถ่าย (photomontage) นอกเหนือไปจากนั้น การพัฒนาด้านการพิมพ์ก็ได้เปิดช่องทางใหม่ และลูกเล่นใหม่ๆให้กับนักออกแบบ ในยุคนี้อย่างมากมาย แต่สิ่งที่ทำให้ Swiss Style นั้นมีความเด่นชัด และมีความแตกต่างจากการออกแบบในเงาของ Bauhaus ก็คือลักษณะการใช้ตัวอักษรที่แตกต่างออกไป ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความสะดวกสบาย และตัวเลือกที่มากขึ้นจากเทคโนโลยีการเรียงพิมพ์ด้วยแสง (phototype setting) ที่เติบโตขึ้นมารองรับกับเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ที่เริ่มพัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว จากความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องการใช้และจัดวางตัวอักษร ของ Swiss Styleปัจจุบันปัจจุบัน นักออกแบบสวิสรุ่นใหม่ก็ยังใช้จุดเด่นของงานกราฟฟิกของ Swiss Style ในเรื่องความชัดเจนด้านองค์ประกอบ และการอ่านออกง่าย ทั้งหมดนี้ คือ รากฐานในการออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ งานของ Contem Swiss ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของตลาดลักษณะการออกแบบมีความเป็นอิสระมากกว่ายุค Swiss Style เพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ระบบ Grid System การให้ความสำคัญกับเทคนิคในการใช้ Illustration มากขึ้นกว่าเดิม และใส่ความรู้สึกส่วนตัวใหม่ๆของนักออกแบบรุ่นใหม่ลงไป

Monday, November 12, 2007

Swiss Made

Swiss Made

การดำรงอยู่ในสไตล์ต้นฉบับของงานกราฟิกสวิส. ถ้ามีสีแดง-ขาว ก็สามารถรับประกันถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการอ่านออกได้และความเป็นอันดับ1ในงานตัวอักษร. อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การแสดงของตัวแทนทั่วประเทศแต่เป็นการแสดงออกที่เป็นความจริงถึงรูปแบบของความรู้สึกเกี่ยวกับความงาม .มันค่อนข้างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการจินตนาการเกินความจริงถึงทิวทัศน์ของการออกแบบ
ตามที่กล่าวมานี้เป็นรอยบันทึกตำนานของศิลปะกราฟิกสวิสและการตรวจสอบหลังคำเล่าลือได้แพร่หลายออกไปต่อๆกัน


งานกราฟิกสวิสในอดีต
ความชัดเจนในการอ่านออกได้และข้อเท็จจริงภายนอก. ระบบแร๊สเตอร์ เป็นการประดิษฐ์ตัวอักษรที่พิลึกและ จัดให้อยู่ในแนวซ้ายอย่างไม่เป็นระเบียบ หัวใจสำคัญของลักษณะ และ ปัจจัยสำคัญของรูปแบบสวิสที่มีชื่อเสียงดูเหมือนจะเป็นการยกตัวอย่าง อย่างรวดเร็ว.พวกเขายังต้องเพิ่มเติมอีกต่อไปในการให้เหตุผล เยอรมัน-สวิส, การลดลงของปรากฏการณ์ในการออกแบบสวิสนี้เป็นที่แน่นอนว่ามันไม่ยุติธรรม. ด้วยเหตุนี้เราน่าจะมีการหวนคิดถึงอดีตกัน ในปี1950 ที่เรียกกันว่า Swiss style เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็น Swiss School, New Graphics, Constructive Graphics หรือ International typographic Style ถูกสร้างขึ้นภายในภูมิประเทศของนักออกแบบสวิส, อย่างไรก็ดี "Neue Bauen" ได้ส่งเสริมทั้งด้านความคิดและ หุ่นจำลองที่มีความรู้สึกต่อความงาม
ตั้งแต่สวิสเซอร์แลนด์ ขัดแย้งกับประเทศทางยุโรปส่วนใหญ่ ที่ถูกเก็บสิ่งที่เลวร้ายมากในสงครามโลกครั้งที่ 2


งานกราฟิกในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ นักออกแบบวัยรุ่นอ้างถึงหลักฐานของรูปแบบประเพณีสวิส "ความแข็งแรงและลักษณะพิเศษของงานกราฟิกสวิส" ในปัจจุบันถูกพบอย่างแน่นอน, ความชัดเจนทางด้านองค์ประกอบและแบบแผนในการอ่านออกได้ ทั้งหมดนี้เป็นรากฐานและเป็นหลักการที่สำคัญของการมองการออกแบบเพื่อพวกเรา กล่าวว่า การมองของนักออกแบบ Barbara Hahn และ Christine Zimmermann มีสติปัญญาในด้านการออกแบบหรือรูปร่าง ดังนั้น การพัฒนาตัวมันเองจากการเสนอสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นความจริง ข้อผูกมัดที่เข้มงวดและการคาดคะเนอย่างละเอียดไว้ล่วงหน้าถึง
ข้อตกลงที่เหมือนกัน หรือการอ้างถึงการออกแบบสวิสที่ผู้เชี่ยวชาญ Meret Ernst กล่าวว่า "ประเทศนี้ไม่ให้อภัยความสวยที่ไร้ประโยชน์".
อะไรคือสิ่งที่น่าปรารถนาในปัจจุบัน, อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยูกับการออกแบบลายมือชื่อที่เป็นภาระเพียงเล็กน้อย. การเปรียบเทียบระหว่าง การออกแบบที่เป็นทางการ 2 อย่าง ในประเทศเยอรมนีและ สวิสเซอร์แลนด์เพื่อให้พวกเรามาลงความเห็นกัน และยิ่งไปกว่านั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นที่ยินยอมของตลาดในผลิตภัณฑ์สิ่งใหม่ๆ

การโฆษณาในปัจจุบันนั้นเป็นการเชิญชวนที่มีความเจริญสูงอย่างรวดเร็วมากกว่างานกราฟิกภูมิประเทศร่วมสมัยของสวิส.และการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนี้แทบจะมีประเพณีของมันเองอยู่ด้วยตลอด: Die Gestalten นักหนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์หนังสือ Swiss graphic Design ในปี 1999 ซึ่งมีผลกระทบอย่างถาวรต่อ กราฟิกสวิส และนอกเหนือจากนั้น มันจะเปลี่ยนการความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศอีกด้วย ขณะที่การเจริญเติบโตและการสร้างประเพณีใหม่ตามสไตล์ของสวิสเป็นเอกสารเจาะจงในเรื่องนั้น Altitude รวมไปถึงการยกตัวอย่างคำนิยามเค้าโครงของการออกแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบของสวิสเซอร์แลนด์ อีกนัยหนึ่ง Altitude ได้พัฒนาการอธิบายตัวอย่างประกอบในปีเร็วๆนี้โดยการนำเสนอ ยกเว้นเรื่องโครงการและผู้สนับสนุน และยังเป็นแนวโน้มใหม่ของการฝึกฝนวินัย อย่างไรก็ดี ความหวังของนักออกแบบวัยรุ่นก็เป็นจุดเริ่มต้น

ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเกี่ยวกับงาน contemporary swiss graphic design ผมว่างานสวิส โดยส่วนใหญ่งานจะเน้น
ไปทาง typography หรือการนํา ภาพประกอบ หรือ photo มาเล่นในงานออกแบบ ซึ่งเป็นจุดเด่นของสวิส สไตล์ อีกทั้งงาน สวิส จะมีจุดเด่นทางด้าน
การใช้สี แดง ดํา ขาว ซึ่งต่อมาสวิส ก็ ได้พยายามที่จะฉีกรูปแบบเดิมๆ โดยพยายามหาสิ่งแปลกใหม่มาในงาน คือใช้สีสันมากขึ้น นําสิ่งต่างๆมาเล่นกับ font มากขึ้น แต่ก็ยังคงนําจุดเด่นของงานสวิส ซึ่งก็คือ typography มาใช้ในงานเหมือนเดิม แต่ก็ได้สร้างความแปลกใหม่ และคง สไตล์สวิสได้เป็นอย่างดี

Monday, November 5, 2007

Contemporary Swiss Graphic Design

ที่มาและการเจริญเติบโตของสไตล์ระหว่างประเทศ ปี 1920-1965
การออกแบบกราฟิกของสวิส และ สไตล์ของSwiss เป็นที่ชี้ขาดถึงปัจจัยสำคัญในประวัติศาสตร์ของสมัยนิยม.
ระหว่างปี 1920 และ 1930 , ทักษะทางประเพณีมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรม Swiss โดยเฉพาะ สิ่งที่เกี่ยวกับยา และ การจัดการเครื่องจักร เป็นที่คู่กันกับเมืองของนักออกแบบกราฟิก ผู้ที่ผลิตโฆษณาและสิ่งตีพิมพ์เหล่านั้น
ศิลปินที่เป็นผู้ริเริ่มกราฟิกเหล่านี้เห็นการออกแบบว่าเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตด้านอุตสาหกรรม
พวกเขาเลือกภาพที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพแทนที่จะเป็นภาพประกอบและเลือกด้านหน้าของตัวพิมพ์ ที่อุตสาหกรรมกำลังจับตา มากกว่าที่จะออกแบบสำหรับหนังสือเหล่านั้น
สไตล์ของศิลปินเหล่านี้ได้รับการชมชอบทั่วโลก เพื่อความเป็นระเบียบอย่างเป็นทางการนั้น: ภาพและต้นฉบับถูกสร้างโดยตะแกรงที่เกี่ยวกับเรขาคณิต. นำมาใช้เกี่ยวกับระหว่างประเทศ ตะแกรงและสิ่งที่ไม่มีส่วนด้านหน้าของตัวพิมพ์ อย่างเช่น Helvetica กลายเป็นสัญลักษณ์ของกราฟิกดีไซน์สวิสที่เก่าแก่.
งานการออกแบบสิ่งที่แสดงจุดแด่นของสิ่งของ ตรงข้ามกับประเภทของสื่อรวมถึง โปสเตอร์ นิตยสาร การแสดงนิทรรศการ แผ่นพับโฆษณาหนังสือและฟิล์ม หนังสือที่สำคัญเล่มนี้ทำให้ทราบSFกี่ของส่วนประกอบคนนักออกแบบชาวสวิสสมัยใหม่ยังดำรงอยู่เช่นเดิมส่วนของภาษากราฟิกของวันนี้

คลื่นลูกใหม่ของการเข้มงวดด้านปัญญาและผู้ทำลายรูปบูชา นักออกแบบสวิสกำลังแกะสลักช่องว่างของพวกเขาในภาษากราฟิกใหม่.
โดยการรวมทั้งธรรมเนียมแบบดั้งเดิมคุณภาพสูงที่ว่าสไตล์'ชาวสวิส กับสื่อที่ก้าวหน้าขึ้น พวกเขากำลังก่อให้เกิดสไตล์ของการแสดงออกที่เกี่ยวกับการมองเห็น
ปีภายหลังการออกแบบกราฟิกสวิสตีพิมพ์ เป็นสมัยใหม่ของการเจริญรุ่งเรืองซึ่งนักออกแบบเกิดขึ้นสมัยเดียวกันให้ การเข้าจอย่างลึกซึ้ง ในการปะทะกัน,จุดสำคัญ และความหลากหลายของงาน และประเมินค่าลักษณะสำคัญของความก้าวหน้าของภาพประกอบและเทคนิคการพิมพ์ในช่วงปีที่ผ่านมา.
จำนวนของนักออกแบบเพิ่มขึ้นโดยกิจวัตรการออกแบบที่หลากสาขาในเทคนิคการพิมพ์ ภาพกราฟฟิกเวกเตอร์การถ่ายภาพ การออกแบบภายในและการออกแบบเว็บเกี่ยวกับระหว่างประเทศ.
พวกเขาทำให้เกิดการทดลอง ความสนุกสนาน และความขบขันในขณะเดียวกันได้รักษาการเข้าใกล้ผู้ที่ยอมรับไปเพียงส่วนน้อยที่สุดในข้อเสนอทั้งนี้เพื่อเป็นการประนีประนอมและระดับความละเอียดที่ให้เครื่องหมายการค้าที่กำลังถูกจำได้ทั่วไปนั้นแก่การออกแบบสวิส. Altitude คือหนังสือที่ละเอียดมาก เป็นสิ่งที่เดิน และทดสอบว่าเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี ภายใต้เงื่อนไขการวิเคราะห์ของการออบแบบที่ร่วมสมัยของสวิส ได้ผ่านการเข้าใจ ข้อความ บทสัมภาษณ์ และคำวิจารณ์ จากนักออกแบบและบรรณาธิกาของพวกเขา

Saturday, November 3, 2007